มาดามแป้ง เคาะ 21 โครงการ รับทุนครั้งที่ 2 ปี 2568 ผลักดันส่งเสริมศิลปินแห่งชาติและเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์
นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงาน วัฒนธรรมว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 คณะกรรมการกองทุน ส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม มีนโยบายสนับสนุน การขับเคลื่อน Soft Power ความเป็นไทยให้เป็นที่รู้จักระดับนานาชาติ มุ่งส่งเสริมวัฒนธรรม และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะมิติทางด้านวัฒนธรรมที่จะมีส่วน ผลักดันสังคมและเศรษฐกิจเชิง สร้างสรรค์ โดยภาพรวมการส่งเสริม สนับสนุน ที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2568 (ไตรมาส 1) ได้ให้การส่งเสริมโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมของศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ศิลปินพื้นบ้าน คณะบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ รวมทั้งสิ้น 401 โครงการ เป็นจำนวนเงินกว่า 194,976,254 บาท (หนึ่งร้อยเก้าสิบสี่ล้านเก้าแสน เจ็ดหมื่นหกพันสองร้อยห้าสิบสี่บาทถ้วน)
ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า สำหรับในปี 2568 กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม มีผู้สนใจ ยื่นขอรับทุน 79 โครงการ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ ได้พิจารณา คัดเลือกโครงการเพื่อรับทุนตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงาน วัฒนธรรม ว่าด้วยเงื่อนไขและรายละเอียดของโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับ การอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 1 ไปแล้วจำนวน 12 โครงการ เป็นเงิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) และในการประชุมครั้งนี้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่การดำเนินงาน ด้านศิลปวัฒนธรรมของบุคคล คณะบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการสนับสนุน การดำเนินงานด้านวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2 ได้พิจารณาคัดเลือกโครงการเพื่อรับทุน (เพิ่มเติม) อีกจำนวน 21 โครงการ ภายในวงเงิน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) โดยมีศิลปินแห่งชาติ ทั้ง 3 สาขา ได้รับการสนับสนุน จำนวน 16 ท่าน ทายาทศิลปินแห่งชาติ ได้รับการสนับสนุน จำนวน 1 ท่าน หน่วยงานภาครัฐ ได้รับการสนับสนุน จำนวน 2 แห่ง และมูลนิธิฯ ได้รับการสนับสนุน จำนวน 2 แห่ง และจาก รายละเอียดโครงการที่ได้รับทุน 21 โครงการ คาดว่าจะมีกลุ่มเป้าหมาย นักเรียน นักศึกษา เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปจากทั่วประเทศ ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมมีทั้งในรูปแบบ Onsite และแบบ Online จำนวน ไม่น้อยกว่า 156,830 คน อาทิเช่น สาขาทัศนศิลป์ 1) โครงการ ตาเห็นใจเห็น : 80 ปี เดชา วราชุน ขอศาสตราจารย์เดชา วราชุน 2) โครงการถ่ายทอดภูมิปัญญาศิลปินแห่งชาติ ผ่านการอบรม เชิงปฏิบัติการ ฃทางทัศนศิลป์ กิจกรรม “นวการลากและระบาย” ของศาสตราจารย์พิเศษอารี สุทธิพันธุ์ 3) โครงการฝึกอบรมเด็กและ เยาวชน เรียนรู้ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ศูนย์การเรียนรู้ผ้าจกเมืองลอง ของนางประนอม ทาแปง 4) โครงการ ANAND PANIN RETROSPECTIVE ของนายอนันต์ ปาณินท์ 5)โครงการสานศิลป์ล้านนา สล่าสลักดุน ของนายดิเรก สิทธิการ สาขาวรรณศิลป์ 1) โครงการ จัดพิมพ์หนังสือรวมกวีนิพนธ์ ของชมัยภร แสงกระจ่าง (บางคมบาง) ชื่อเล่มว่า “ธารน้ำค้างบนดอกบัวขาว” 2) โครงการเผยแพร่บทกวี นิพนธ์ยอพระเกียรติ ของนายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช 2565 3) โครงการหนังสือภาพเพื่อเด็ก เรื่องเล่าจากท้องทะเล เล่มที่ 1 “ทะเล ดวงดาว และเด็กน้อย” ของนายอัศศิริ ธรรมโชติ 4) โครงการจัดทำหนังสือบทนิพนธ์คัดสรรของสถาพร ศรีสัจจัง (พนม นันทพฤกษ์) ชุด “ดั่งผีเสื้อเถื่อนและทาง” (โลกทัศน์แห่งเส้นทาง) 5) โครงการสืบ รู้ ลาน ของนายเจริญมาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์) 6)โครงการสร้างสรรค์วรรณศิลป์กวีนิพนธ์ นิสิต นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ของนายไพวรินทร์ ขาวงาม 8) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้าง ครูต้นแบบสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (การเขียนบทร้อยกรอง เรื่องสั้น นวนิยายและสารคดี) ครั้งที่ 4 ของ รศ.ธัญญา สังขพันธานนท์ สาขาศิลปะการแสดง 1)โครงการลำตัดสัญจร ศิลปะดนตรีเพื่อการเรียนรู้ ฟื้นฟูใจ ของนางศรีนวล ขำอาจ 2) โครงการ โรงเรียนตายายย่าน รุ่นที่ 2 ของนางกั้น เชาวพ้อง 3) โครงการบันทึก ดนตรีหนังตะลุง และผลิตสื่อ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ของนายควน ทวนยก 4) โครงการฝึกทักษะการแสดง โนรา ดนตรี และฝึกร้อยลูกปัดเบื้องต้น ของ ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ เครือข่ายอื่น ๆ 1) โครงการ เสวนาวิชาการทางดนตรี “สมานวิชาการ” หัวข้อ “เล่าขานเยือนยิน ยลถิ่น บ้านครูสมาน” ของนายจิรวุฒิ กาญจนะผลิน ทายาท นายสมาน กาญจนะผลิน 2) โครงการพัฒนา “เครือข่ายสล่าล้านนาและศิลปินล้านนา” เพื่อการท่องเที่ยวชุมชน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3) โครงการฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์งานศิลป์ จินตนาการ สู่ความเป็นรูปเลิศ ด้านศิลปะและวัฒนธรรมแบบร่วมสมัย ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 4) โครงการเล่นขยับเรา เล่าขยับโลก ของมูลนิธิกุมุท จันทร์เรือง 5)โครงการ 70 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้าฯ ของมูลนิธิศิลปินแห่งชาติ เป็นต้น ในนามประธานกรรมการ กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม จึงขอแสดงความยินดีกับโครงการที่ได้รับ คัดเลือกให้ได้รับทุน ในครั้งที่ 1 จำนวน 12 โครงการ และในครั้งนี้อีก จำนวน 21 โครงการ รวมมีโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนในปี 2568 จำนวนทั้งสิ้น 33 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการทั้ง 33 โครงการดังกล่าว จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาบุคลากร พัฒนาวงการ ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้มีความเข้มแข็งยั่งยืน เป็นพลังในการขับเคลื่อน Soft Power ความเป็นไทยให้เป็นที่รู้จักระดับนานาชาติ ตามวัตถุประสงค์ และเจตนารมณ์ต่อไป
ในนามของประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม อยากจะขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน การดำเนินงานด้านวัฒนธรรม สนับสนุนศิลปินแห่งชาติ สืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยการบริจาคเงินสมทบ ผ่านกองทุน ส่งเสริมงานวัฒนธรรม สามารถบริจาคง่าย ๆ ด้วยตนเองเพียงสแกน QR Code โอนผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนรัชดาภิเษก ชื่อบัญชีกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม เลขที่บัญชี 060-216511-7 หรือสามารถบริจาคด้วยตนเอง โดยเช็คสั่งจ่าย ในนามกองทุนส่งเสริม งานวัฒนธรรม นอกจากท่านจะเป็นผู้ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรม ของชาติแล้ว ท่านยังสามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า อีกด้วย
เจนกิจ นัดไธสง รายงาน